วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

บทกรวดน้ำ



บทกรวดน้ำ

เมื่อเสร็จพิธีทำบุญและพระสงฆ์กล่าวรับแล้วให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของเราโดยว่าดังนี้

ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนายบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ
เป็นบทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

คำสวดทำวัตรเย็น

คำสวดทำวัตรเย็น
หมายเหตุ คำบาลีในวงเล็บใช้สำหรับผู้สวดภาวนาที่เป็นสตรี

เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

(เฉพาะแบบธรรมยุติ-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ)

ปุพพภาคนมการ
(แบบธรรมยุตผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ อภิคายิตุง ปุพพะภาคะ นะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส)
(แบบมหานิกายผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบแล้วกราบ 3 ครั้ง)

พุทธานุสสติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง
เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
พุทธาภิคีติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต
โพเธสิ โย สุชะนะตังกะมะลังวะ สูโร
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ปะฐะมานุสสติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะระยา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
(กราบหนึ่งครั้ง)
กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะพุทเธ

ธัมมานุสสติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

ธัมมาภิคีติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
ธัมมัง เมวันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม
สังฆานุสสติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อายุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ
สังฆาภิคีติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ
จบทำวัตรเย็น

คำสวดทำวัตรเช้า

คำสวดทำวัตรเช้า
หมายเหตุ คำบาลีในวงเล็บใช้สำหรับผู้สวดภาวนาที่เป็นสตรี

เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง

อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

(แต่ถ้าแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

(เฉพาะแบบธรรมยุต-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ)

ปุพพภาคนมการ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

พุทธาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวา โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง
สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง
มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง
ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ (กราบ)

ธัมมาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ (กราบ)

สังฆาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ (กราบ แล้วนั่งราบ)

รตนัตตยัปปณามคาถา
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย
มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
สังโฆ สุเขตาภยะติเขตตะสัญญิโต
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง
วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง
มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
สังเวคปริกิตตนปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
ธัมโม จะ เทสีโต นิยยานิโก
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ
ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
เสยยะถีทัง
รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ
สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ
เยสังปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา
เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ
อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา
สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจา
รูปัง อะนัตตา เวทะนา อะนัตตา สัญญา อะนัตตา
สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา
สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง
ภะคะวันตัง สะระณังคะตา
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
สา สา โน ปะฏิปัตติ
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ

*จบทำวัตรเช้า แต่อาจต่อด้วยคาถากรวดน้ำตอนเช้าดังนี้ (มีข้อสังเกตุว่ามีหลายสำนวนด้วยกันและจะไม่เหมือนกัน)

สัพพปัตติทานคาถา (กรวดน้ำระลึกพระคุณ)
(ผู้นำสวดเริ่มว่า หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส)
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม
เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกะ
เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย
ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐิ วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน
สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เต ภุมมา จะตุโยนิกา
ปัญเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง
เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง
มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะ เหตุนา
สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา
(จบแล้วกล่าวเพิ่มว่า)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
คะรุอุปัชฌายะอาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ)

จบทำวัตรเช้าบริบูรณ์

คำบูชาพระรัตนตรัย



คำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
เป็นการรำลึกถึงพระพุทธคุณเบื้องต้นก่อนสวดมนต์ บูชาพระ หรือทำพิธีการต่างๆ

คำขอขมาและอธิษฐานจิต

คำขอขมาและอธิษฐานจิต
สัพพัง อะปะระธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเย นะ กะตัง
สัพพัง อะปะระธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

คำแปล
หากเข้าเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน บิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดีขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย

หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมาขออนุณาตมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบาน ที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ค่างผ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัวตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้องจงเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใดๆ โรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้น ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลก และทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพาน เทอญ

หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาต และคำสาปแช่งในทุกชาติ ทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชน ของเจ้ากรรมนายเวร ขอให้พ้นนรกภูมิ พบแสงสว่างทั้งทางโลก และทางธรรม เทอญ
ก่อนสวดตั้งนะโม 3 จบ

คุณพ่อคุณแม่รวมถึงผู้มีพระคุณต่อผมครับ ผมยอมรับว่าผมเคยคิดในทางไม่ดีในทางเสื่อมเสียต่อท่าน ถึงสมองจะคิดไปเอง โดยที่ผมมิสารถควบคุมได้ ขอให้ท่านโปรดอโหสิกรรมให้ผมด้วยเถอะครับ ผมไม่อยากจะมีบาปติดตัว โปรดอโหสิกรรมให้ผมเพื่อให้ผมหลุดพ้นจากบาปกรรมที่มาจากการคิดไม่ดีต่อท่านด้วยเถอะครับ สาธุ

คำขอขมาพระรัตนตรัย

คำขอขมาพระรัตนตรัย

อุกาสะ อัจจะโย โน ภันเต อัจจัคคะมา ยะถาพาเล ยะถามุฬเห ยะถาอะกุสะเล เย มะยัง กะรัมหา เอวัง ภันเต มะยัง อัจจะโย โน ปะฏิคคัณหะถะ อายะติง สังวะเรยยามิ

คำกล่าวบูชาไตรสรณคมน์

คำกล่าวบูชาไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ต่อไปพระผู้นำกล่าวรับว่า)
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูชา มหาโภคะวาโห
ติโลกะนาถัง อภิปูชะยามิ

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปูริสะทัมมสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ (กราบ)

สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)

คาถาแผ่ส่วนกุศล

คาถาแผ่ส่วนกุศล (กรวดน้ำ)

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

คาถาแผ่เมตตาพรหมวิหารสี่

คาถาแผ่เมตตาพรหมวิหารสี่

บทเมตตา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


บทกรุณา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
จงพ้นจากทุกข์เถิด


บทมุทิตา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ
จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด


บทอุเบกขา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น

กัมมัสสะกา
เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน

กัมมะทายาทา
เป็นผู้รับผลของกรรม

กัมมะโยนิ
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด

กัมมะพันธุ
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

กัมมะปะฏิสะระณา
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ยัง กัมมัง กะริสสันติ
กระทำกรรมอันใดไว้

กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา
ดีหรือชั่ว

ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

คาถาแผ่เมตตาตนเอง

คาถาแผ่เมตตาตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
อะหัง นิททุกโข โหมิ
อะหัง อะเวโร โหมิ
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

คาถากันสุนัข

คาถากันสุนัข

นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ อิสวาสุ อุอะมะ
ใช้ท่องแล้วเป่าเบาๆ เวลาเจอสุนัขดุ

คาถากันปืน

คาถากันปืน

นะอุ เออัด อุทธังพะลังเสยยัด
อะอัดนะ นัดมัดอัด อุทธะอุตตัมปิ
อุตตะรัง อุสุอัสสะปะปิ ภะคะวา
อิติปิผิดนะอุทธัง อัทโธ โมโทอัดธังอุด
พุทอุทธัง อัทโธ ชาโธอุทธัง อัดยะมิให้ออก
นะผิดกาโรโหติ สัมภะโว
ใช้สวดภาวนาตอนที่สถานการณ์คับขัน เพื่อให้แคล้วคลาดจากอาวุธปืน

คาถาแผ่เมตตา


คาถาแผ่เมตตา

(แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)

สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

สำหรับแผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

คาถา พญาเงินพญาทอง


มหานิโคทะนามะ อิทานิ เอหิ ธะนัง สิริโภคา
นะมาสะโย อิตธิฤทธิ์ธิ ชัยยะชัยยัง
ลาภะลาภัง สิทธิธัมมัง ประสิทธิเม

ตั้งนะโม3จบ แล้วท่อง คาถาพญาเงินพญาทอง

คาถามนต์รัก

โอม นะ ปะ โร รันนะขุเภติ
พุทธัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา
ธัมมัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา
สังฆัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา

คาถามนต์รัก การใช้คาถามนต์รัก ให้ภาวนากับดอกไม้ก่อนที่จะส่งให้คนรัก
เมื่อเขาหรือเธอสูดดมดอกไม้ ก็จะรักเราตอบ เรื่องสั้นความรัก

คาถากันไฟและขโมย

คาถากันไฟและขโมย คาถากันขโมย ใช้สวดภาวนาเสกทราย ๗ จบแล้วนำไปโปรยรอบบ้าน คาถากันไฟ ภาวนาแล้วจะปลอดจากไฟไหม้ และอันตรายที่จะเข้ามา คาถา-อาคม พระคาถาต่างๆ

ปัญจะมาเล ชิเนนาโถ ปัตโตสัมโพ ธิมตตะมัง อรหังพุทโธ อิติปิโสภะคะวา

“ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ”

คาถากันขโมย ท่องภาวนาเป็นประจำ ป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้ตลอดเวลา

คาถาพระพิฆเนศวร

คาถาพระพิฆเนศวร คาถาบูชามหาเทพ"พระพิฆเนศวร"

โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ

พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง

สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม


พระพิฆเนศ คาถาพระพิฆเนศ พระองค์คือมหาเทพที่ประกอบด้วยความเมตตาต่อสัตว์โลกเราสวด คาถาพระพิฆเนศ เพื่อขอพรจากองค์ พระพิฆเนศ (Ganesa) เพื่อให้ประสบความสำเร็จทุกประการ ใช้สวดเพื่อขอพรจากท่านหรือปัดเป่าเหตุร้าย

คาถาลงน้ำ

คาถาลงน้ำ ป้องกันอันตรายในน้ำ เป็นคาถาที่ใช้ท่องภาวนาก่อนที่จะลงแม่น้ำลำคลองหรือทะเลท่อง คาถาลงน้ำ เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษต่างๆ และสิ่งที่มองไม่เห็น ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อเรา

ยันทุนนิมิตตัง อวมังคลัญจะ โยจามะนาโป
สกุณัสสะสัทโธ ปาปัคกะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อวมังคลัญจะ

โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธรรมานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

สังฆานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
โอมชำระ มหาชำระ

นัทธีสะคะระชำระประสิทธิเม

คาถาโพธิบาท


คาถาโพธิบาท พระคาถาป้องกันภัย 10 ทิศ เป็นการใช้คาถาป้องกันภัยโดยการสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ "คาถาโพธิบาท" บางคนใช้สวดในการสะเดาะเคราะห์


คาถาโพธิบาท
บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง
บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูรพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อาคะเนย์รัสมิง พระพุทธะคุณัง
อาคะเนย์รัสมิง พระธัมเมตัง
อาคะเนย์รัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง
หรดีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง
พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง
พายัพรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง
อุดรรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อิสาณรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อิสาณรัสมิง พระธัมเมตัง
อิสาณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง
ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง
อากาศรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะทะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

คาถาจตุคาม คาถาจตุคามรามเทพ


คาถาจตุคาม คาถาจตุคามรามเทพ เป็นบทพระ คาถาบูชาจตุคามรามเทพ

กินนุสัน ตะละมาโน วราหุ สุริยัน ปมุตจะสิ สังวิคะรุโป อาคัมมภีโต วัตติถะ สีติ สัตตะทาเมภาเล มุทธาชีวันโต นะสุขังละเภ พุทธบูชา ภิคิโต มหิโน เจยมุต เจยยะ สุริยัน ติ

กินนุสัน ตะละมาโน วราหุ จันทัง ปมุตจะสิ สังวิคะรุโป อาคัมมภีโต วัตติถะ สีติ สัตตะทาเมภาเล มุทธาชีวันโต นะสุขังละเภ พุทธบูชา ภิคิโต มหิโน เจยมุต เจยยะ จันทิมา ติ

คาถาหลวงพ่อพระพุทธโสธร

คาถาหลวงพ่อพระพุทธโสธร

คาถาหลวงพ่อโสธร ก่อนจะใช้ คาถาบูชาหลวงพ่อโสธร ต้องบูชาพระรัตนตรัยเสียก่อน แล้วจึงกล่าวคำบูชาเฉพาะ พระคาถาบูชาหลวงพ่อโสธร


กาเยนะ วาจายะ เจตสา วา โสธะรัง นามะ
อิทธิปะฏิหาริกะรัง พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ สัพพะโสฯ

ท่อง3จบ

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

คาถาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท

ตั้งนะโม ๓ จบ แล้ว กล่าวคาถาหลวงปู่ศุข ว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ

คาถาอาราธนา พระเครื่องและตะกรุดหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ตั้งนะโม 3 จบ ระลึกถึง(หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) แล้วภาวนา คาถาหลวงปู่ศุข ว่าดังนี้
อิติอะระหังสุคะโต เกสโรนามะเต ประสิทธิเม อิหิอะโห นะโมพุทธายะ

หมั่นสวดภาวนาเป็นประจำ ป้องกันภัยพิบัติต่างๆ เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย พระเครื่องหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณสูงมากเป็นที่ต้องการของใครหลายๆคน แต่เนื่องจากของเก๊มากมาย เราสามารถใช้ พระคาถาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ในบทต่างๆของท่านภาวนาเพื่อปกป้องคุ้มครองอันตรายต่างๆแทนได้เหมือนกัน คาถาเมตตามหาเสน่ห์ ของ(หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) พระปิดตาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ความเชื่อเรื่องเคล็ด

ความเชื่อเรื่องเคล็ดและการแก้เคล็ดทางไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องเคล็ดและการแก้เคล็ดเป็นวิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยและการขอให้สิ่งที่ต้องกระทำบางอย่าง แต่การกระทำเช่นนั้นถูกสั่งห้ามกระทำ เมื่อฝืนกระทำลงไปจึงต้องมีการแก้เคล็ด และการแก้เคล็ดนั้นมีหลายวิธีดังต่อไปนี้

1.ผู้หญิงมีครรภ์ห้ามดูจันทรคราสและสุริยคราส :ซึ่งในสมัยก่อนคนแก่มักห้ามผู้หญิงมีครรภ์ดูจันทรคราส เพราะมีความเชื่อว่าทารกในท้องจะเกิดมาพิการ หากหญิงมีครรภ์นั้นต้องการจะดูจันทรคราสจะต้องแก้เคล็ดด้วยการนำเข็มกลัด มากลัดไว้ที่ขอบชายผ้านุ่งหรือกางเกง

2.ผูกดวง การผูกดวงนั้นมีมากมายหลายวิธี เช่น บุตรไม่สบายรักษาอย่างไรก็ไม่หายบิดามารดามักทำพิธีผูกดวงของบุตรให้ไปเป็น บุตรของคนอื่น การผูกดวงนั้นทำได้โดยการให้ผู้มาขอผูกดวงเป็นบุตรนำสายสิญจน์ที่เสกด้วย คาถาแล้วมาผูกข้อมือและบอกกล่าวดังๆ ว่าขอรับเป็นบุตรตั้งแต่วันนี้ และการเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบายที่รักษาไม่หายก็ขอให้หายเถิด ซึ่งเป็นการบอกกล่าวให้ทราบเป็นเคล็ดว่าได้เป็นบุตรของคนอื่นแล้ว อาการเจ็บป่วยนั้นจะค่อยๆหายเป็นปกติ

3.เปลี่ยนชื่อ การเปลี่ยนชื่อเป็นอีกวิธีหนึ่งในการแก้เคล็ดการเจ็บป่วยที่รักษาไม่หายหรือการมีชีวิตที่ไม่ค่อยสมหวังทั้งในเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ และการงานอาชีพเพราะพยัญชนะบางตัวที่ประกอบเป็นชื่อเรานั้นเป็นอักษรกาลกิณี บุคคลผู้นั้นจึงมักเจ็บป่วย รักษาไม่หาย หรือมีปัญหาในชีวิตอยู่ตลอด จึงต้องดูว่าในชื่อของเรานั้นมีตัวอักษรกาลกิณีอยู่ไหม ถ้ามีก็ให้เปลี่ยนชื่อใหม่เสีย มีบุคคลจำนวนมากที่เปลี่ยนชื่อแล้วชีวิตดีขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้น การเจ็บป่วยเรื้อรังที่รักษามานานปีก็หายเป็นปกตินับว่าเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อเหมือนกัน

4.เปลี่ยนที่นอน ผู้ใดต้องการมีบุตรชายหรือหญิงจะต้องเปลี่ยนที่นอนอย่านอนซ้ำที่เดิม หากบุตรคนแรกเป็นชาย คนที่สองต้องการให้เป็นผู้หญิงจะต้องเปลี่ยนที่นอนโดยเชื่อกันว่าเป็นการแก้ เคล็ดให้ได้บุตรหญิง

5.อมพระหรือแขวนพระ การอมพระหรือแขวนพระ ไว้ด้านหลังขณะที่กำลังถ่ายอุจจาระปัสสาวะนั้น มีความเชื่อว่าจะไม่ทำให้พระซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังเสื่อมถอยหรือหมดความขลังได้

6.สุนัขกัด สุนัขที่กัดตนนั้นถ้ารู้ว่าใครเป็นเจ้าของให้นำแผลที่สุนัขกัดนั้นไปให้เจ้าของสุนัขทาเกลือหรือทายาให้เพราะมีความเชื่อว่าแผลจะหายเร็วกว่าปกติ และสุนัขตัวนั้นจะไม่กัดคนนั้นอีกเลย
ข้อห้ามและกาลเทศะทางไสยศาสตร์

คาถาพระลักษณ์หน้าทอง

คาถาพระลักษณ์หน้าทอง ของหลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม จ.สระแก้ว

คาถาบูชาพระลักษณ์หน้าทอง ตั้งนะโม 3จบ

โอมพระพักตร์ พระลักษณ์หน้าทอง สุวรรณผุดผ่อง หน้าทองพระพักตร์
ชายเห็นชายรัก สาวเห็นสาวรัก ผู้ใหญ่เห็นก็รัก พากันโสมนัส
ใครเห็นใครก็รัก รู้จักกูถ้วนหน้าไม่ว่าใคร
นะจับจิต โมจับใจ พุทโยงใย ธาหลงใหล ยะร้องไห้มาหากู ปะสะสัมปะติฏฐามิ

โอมพระแลงเป็นแสงพระลักษณ์ พระฤาษีจับปากกา พระลักษณ์จับหน้าจับตา สวาหะ
นะเห็นหน้ากูอยู่ไม่ได้ โมร้องให้ครวญคราง พุทกอดไว้มิใคร่จะวาง ธาครวญครางสะอื้นให้ ยะหลงไหลในจิต
หญิงใดชายใดได้เพ่งพิศเห็นหน้ากู ก็ย่อมมิได้ ร้องให้มาหากู
โอมสิทธิแก่กู สวาหะ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พหูชะนาเอหิ

คาถาพระลักษณ์หน้าทอง นี้สามารถใช้ท่องใช้เสกยันต์พระลักษณ์ เครื่องรางของขลังต่างๆ ที่เป็นพระลักษณ์ เช่นเสกยันต์พระลักษณ์ เศียรพระลักษณ์ หรือตะกรุดพระลักษณ์ ให้ภาวนาคาถาพระลักษณ์หน้าทองนี้ 3จบ พร้อมกับนำวัตถุมงคลพระลักษณ์ วนที่ใบหน้า3รอบ โดยวนตามทิศตามเข็มนาฬิกา(ทักษิณาวัตร) เป็นมหาเสน่ห์ มหาเมตตา มหานิยม มีสง่าราศรี เสริมวาสนา ชะตาชีวิตบุญบารมีดีนักแล. ค้าขายจะประกอบกิจการสิ่งใดก็สำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ

คาถาไล่เปรต

คาถาไล่เปรต ไม่จำเป็นไม่ควรใช้คาถานี้ ควรแผ่เมตตาให้เค้ามากกว่าครับ

สุสุนทะโร วะระรูเปนะ ภูตานิ เปโต
สุสสะโร ธัมมะภาสะเน สุทุททะสัง
ทิสาเปติ สุคะตัง โปโต ภูตา เปหะติ
ปัตตัง เทติ นิระยังคุนา เวสุวันนัง ปัตถิตัง นะมามิหัง คัตชะมุมหิ

คาถาหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง



คาถาหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ตั้งนะโม 3 จบ ก่อนแล้วท่อง คาถาหลวงพ่อแช่ม 1,3,5,7,9 จบ ซึ่งหลวงพ่อแช่ม วัดฉลองท่านจะคุ้มครองป้องกันอัตรายต่างๆได้ดีนักแล พระคาถาต่างๆ

พระอะระหัง สุคะโต ภะคะวา นะเมตตาจิต
พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูชา มหาโรคะวะโห
ติโลกะนาถัง อภิปูชะยามิ

คาถานะหน้าทอง


พระคาถานะหน้าทอง ฉบับดั่งเดิมคัดลอกจากคู่มือชายชาตรีฉบับเดิมในงานฉลองอายุ
พระครูเนกขัมมาภิมนต์ หลวงพ่อดิษฐ์ ติสสโร วัดปากสระ พัทลุง

กรรมวิธีท่อง คาถานะหน้าทอง
พระคาถานะหน้าทอง เมื่อถึงบทพระคาถาแต่ละตัวให้ทำตามแต่ละบทนั้น

ท่องถึง ตัว นะ ก็ให้กำหนดจิตนึกเขียนที่กลางเศียรพระลักษณ์หน้าทองเป็นอักขระตัว นะ
ท่องถึงบท โม ก็เขียนอักขระตัว โม ลงบนหน้าผาก
ท่องถึงบท พุท(ธ) ก็ให้เขียน พุท(ธ) ลงที่หูทั้งสองข้างๆ ละตัว
ท่องถึงบท ธา ก็ให้เขียน ธา ลงที่ตาทั้งสองข้างๆ ละตัว
ท่องถึงบท ยะ ก็ให้เขียน ยะ ลงที่ลิ้น

กำหนดน้อมจิตอธิษฐานให้หน้าของเราเป็นพระพักตร์พระลักษณ์หน้าทอง เข้าหาเจ้านายเป็นเมตตาอย่างประเสริฐสุดสารพัดจะใช้เอาเถิด วิเศษยิ่งนักแล ใช้เสกหน้าทองก็ได้

ท่อง นะโม 3 จบ

นะ กาโร กุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ
ขออัญเชิญพระกุกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่เบื้องศรีษะของข้าพเจ้า ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
นะ กาโร สุวัณโณเจวะ นะ งามคือดังแสงทอง รัศมีสีส่องไปทั่วสกลกายา เป็นที่เสน่หาแก่คนทั้งหลาย
เดชะพระกุกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสิทธิวิชายะเตฯ

โม กาโร โกนาคะมโน นะลาฐิเต
ขออัญเชิญพระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่ที่หน้าผากของข้าพเจ้า ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
โม กาโร มะณีโชตะกัง โม งามคือแสงแก้วมณีโชติ ส่องแสงโปรดอยู่เบื้องหน้าผาก หญิงเห็นให้หลงไหล
ชายเห็นให้หลงรัก เห็นหน้าให้ทายทักเป็นมหานิยม
เดชะพระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสิทธิวิชายะเตฯ

พุท(ธ) กาโร กัสสะโป เทวกัณเณ
ขออัญเชิญพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่ในโสต(ร์)ทั้งสองของข้าพเจ้า ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
พุท(ธ) กาโร สังขะเมวาจา พุท(ธ) งามคือแสงสังข์อยู่ในโสต(ร์)ทั้งสองของข้าพเจ้า ป้องกันบำบัดโรค
โรคาพยาธิทั้งหลาย
เดชะพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสิทธิวิชายะเตฯ

ธา กาโร โคตะโม ทเวเนตเต
ขออัญเชิญพระศรีศากกะยะมุนีโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่ในเนตรทั้งสองของข้าพเจ้า
ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
ธา กาโร สุริยังเจวะ(จันทังเจวะ) ธา งามคือดังแสงพระอาทิตย์(แสงพระจันทร์) สมณชีพราหมณ์ มนุษย์
บุรุษ หญิงชายทั้งหลาย เห็นเนตรทั้งสองของข้าพเจ้า ให้มีจิตคิดเมตตายินดี
เดชะพระศรีศากกะยะมุนีโคตมบรมครูเจ้า ประสิทธิวิชายะเตฯ

ยะ กาโร อะริยะเมตตรัยโย ชิวหาทีเต
ขออัญเชิญพระศรีอาริยะไมตรีสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่ในลิ้นของข้าพเจ้า ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
ยะ กาโร มุกขะเมวะจะ ยะ งามคือดังแสงมุกข์ส่องแสงสุกอยู่ในลิ้นของข้าพเจ้า จะเจรจาพาทีด้วย
สมณพราหมณาจาริย์ มนุษย์ บุรุษ หญิงชายด้วยถ้อยคำให้มีจิตเมตตากรุณาแก่ข้าพเจ้าเถิด
เดชะพระศรีอาริยะไมตรีสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสิทธิวิชายะเตฯ

สัพเพชะนานัง พะหูชะนานัง คือคนทั้งหลายเอ๋ย มึงเห็นหน้ากูให้มึงรักกู
ทั้งหลับทั้งตื่น ทั้งกลางวันกลางคืน ชะยัง สุขัง ลาภัง พุทโธโส ภะคะวา
ปัญจะพุทธา นะมามิหัง ปิยะเทวะ มนุสสานัง ปิโยพรหมา นะมุตตะโม
ปิโยนาคะ สุปัณณานัง ปิณินทะริยัง นะมามิหังฯ

เมื่อท่องคาถานะหน้าทอง แล้วอธิษฐานแผ่เมตตาว่า
พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานัง ปัจจโย โหตุ

คาถานะหน้าทอง ตำหรับนี้ลองท่องกันดู เป็นเมตตามหานิยมอย่างประเสริฐสุดสารพัดจะใช้เอาเถิด วิเศษยิ่งนักแล

คาถาบูชาขุนแผน


คาถาขุนแผน คาถาหัวใจขุนแผน คาถาปลุกขุนแผน คาถาพระขุนแผน

คาถาขุนแผน
เอหิมะมะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
(ใช้ท่องกับของใช้ส่วนตัวอะไรก็ได้แล้วจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่หลงไหล)

คาถาบูชาขุนแผน
สุนะโมโร โมโรสุนะ นะมะพะธะ จะพะกะสะ นะมามิหัง

คาถาขุนแผน (หลวงพ่อกวย)
อมสิทธิ ท้าวฟื้นเจริญศรี หน้ากูงามคือพระแมน ณะมะพะทะ
แขนกูงามคือพระนาราย ฉายกูงามคือพระอาทิตย์ ฤทธิกูงามคือพระจัน
สาวในเมืองสวันเห็นหน้ากูอยู่มิได้ กูมาระลึกถึงฝูงหงษ์มาลืมข้ามคูหา
กูมาระลึกถึงมหาเสนา ก็มาลืมแท่นที่นอน กูมาระลึกถึงลูกไก่อ่อน ก็วิ่งตามกูมา
กูมาระลึกถึงสาวใช้ก็มาลืมแม่ กูมาระลึกถึงสาวแก่ก็มาหลงไหล
กูมาระลึกถึงเจ้าทัยเทวีก็มาลืมสวดมนต์ กูมาระลึกถึงฝูงคนก็มารักกูอยู่ทั่วหน้าทั่วชั้นฟ้าและพื้นดิน
เหมือนช้างรักงา ปลารักน้ำ เข้าอยู่ในดง ผมก็ลืมเกล้า ข้าวอยู่ในคอก็ลืมกลืน
ให้สะอื้นคิดถึงตัวกู อยู่ทุกเวลาและราตรี อิติลีกันหาชูชะโกโมกรุณาพุทปราณี ทายินดี
ยะเอ็นดู เอหิกะระนิโย อิติพิโส พะคะวาณะลีติ อิติมานิยม

รวมคาถาขุนแผน คาถาหัวใจขุนแผน ต่างๆมากมาย
คาถาหัวใจขุนแผนรักแท้
*โอมนะโมพุทธายะ พุทธัง สะระติ ธัมมัง สะระติ สังฆัง สะระติจิตตังสะมาเรมะมะเอทิ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ให้บริกรรมคาถานี้กับลูกอมแล้วอมขณะที่คุยกับคนที่เรารัก จะทำให้เขาคนนั้นเกิดความรักจริงจังขึ้นมา)

คาถาหัวใจขุนแผนมัดใจ
*พุทธัง รัตตะนัง ธัมมัง รัตตะนัง สังฆัง รัตตะนัง นะผูก โมมัด พุทรัด ธารึง ยะกรึงคะเร โอมสวาหะ
(ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ทำให้คนรักคิดถึง)

คาถาหัวใจขุนแผนใจอ่อน
*ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะอตใจ นะกาโร โหติ สัมภะโวตรีนิกัตวานะ นะ การัง ปัญจะสัมภะวัง
(ใช้ท่องก่อนที่จะพบเจรจากับคนที่เป็นเจ้าหนี้หรือใครก็ตาม จะทำให้ได้รับการผ่อนปรน ใจอ่อนได้ทุกที)

คาถาหัวใจขุนแผนผูกใจคน
* โอมนะโมพุทธะ นะ มะ อะ อุ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ใช้สวดเมื่อต้องการให้คนทั่วไปรักใคร่ยินดี ใช้เสกกับแป้งหรือน้ำหอมก็ได้)

คาถาหัวใจขุนแผนมหาเสน่ห์
*จันโทอะภกันตะโรปิติ ปิโย เทวะมนุสสานังอิตภิโยปุริ โสมะ อะ อุ อุ มะ อะ อิสวาสุ อิกะวิติ
(ให้ภาวนาคาถานี้ ๓ จบก่อนออกไปพบคน จะทำให้คนที่ต้องไปพบเกิดความรักใคร่)

คาถาหัวใจขุนแผนป้องกันตัว
*ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะกาโร โหติ สัมภะโวพินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิริ นะโมพุทธายะ
(ใช้ท่องภาวนาเป่าใส่มือ แล้วตบมือดังๆ จะทำให้ปลอดภัยจากอันตรายไม่ว่าคนหรือสัตว์)

คาถาขุนแผนป้องกันผี
*นะโมพุทธายะ มะพะ ทะนะ ภะ กะ สะ จะสัพเพทวาปีสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิยะขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพยักขาปะลายันติ สักกัสสะ วะชิราวุธังเวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธังอะฬะวะกัสสะ ทุสาวุธังยะมะนัสสะ นะยะนาวุธังอิเมทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ

คาถาขุนแผนหนังเหนียว
*สุกิตติมา สุภาจาโร สุสีละวา สุปากะโต อัสสะสิมา วะเจธะโร เกสะ โรวา อะสัมภิโต
(ใช้สวดภาวนาคาถานี้กับน้ำมันทาถูร่างกายจะทำให้อาการฟกช้ำหายเร็ว หรือก่อนออกศึกใดๆ จะทำให้หนังเหนียวไม่บาดเจ็บง่าย)

คาถาขุนแผนข่มศัตรู
*ตะโต โพธิสัตโต ราชะสิงโหวะมหิทธิโกอะระหัง ตะมัตทังปะกาเสนโตราชะสิงโห สัตถาอาหะ นะโมพุทธายะ นะมามิสุคะตังชินัง
(ใช้บริกรรมคาถาเมื่อจะต้องไปเจอศัตรู จะทำให้ศัตรูเกรงกลัว - ท่อง ๓ จบแล้วกระทืบเท้าดังๆ ก่อนออกจากบ้านเหมือนกับพิธีตัดไม้ข่มนาม)

คาถาขุนแผนเสกขี้ผึ้ง
*มทุจิตตัง สุวามุปขังทิตสวานิมามัง ปิยังมะมะเมตตา ชิวหายะมะ ทุรังทะตวาจาจัง สุตทังสุตตะวา
สัพเพชะนาพะ หุชะนาอิตถีชะนาสัมมะนุนะ พรามมะนา นุนะปะสังสันติ
(ใช้ภาวนากับขี้ผึ้งหรือลิปสติก จะทำให้คนรักเชื่อฟัง)

คาถาขุนแผนหมัดหนัก
*โสภะคะวา อะทิสะมานิ อุเทยยัง คัจฉันตัพพังสังลารัง ปะระมัง สุขัง นะลัพภะติมหาสูญโญ จะสัมภะโต สังสาเร อานังคัจฉันติ
(ใช้ภาวนาเมื่อต้องการให้หมัดหนัก ไม่ใช่นักมวยก็ใช้ได้)

คาถาหัวใจขุนแผนสาริกาลิ้นทอง
*พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต
(ใช้สวดภาวนาหากต้องการให้คนรักใคร่ พูดจาเป็นเสน่ห์ ตอนท่องถึงคำว่า มิ ก็ให้แตะที่ลิ้นด้วยทุกครั้ง)


ประวัติคาถา

ประวัติคาถาและความเป็นมาของ พระคาถา: คาถา ความหมายของคำว่า “คาถา”และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน ประวัติ คาถา และความเป็นมาของ พระคาถาต่างๆ การใช้ คาถา ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต

เมื่อครั้งสมัยพุทธกาลพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากการสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 3 (ตติยสังคายนา) แล้ว พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียเริ่มร่วงโรยลง และต่อมาได้ย้ายไปประดิษฐานในลังกา ศาสนาพุทธกับพราหมณ์ในอินเดียสมัยนั้น ได้ผสมผสาน กันมา จนเกิดมีลัทธิ พุทธตันตระ (ลัทธิพุทธศาสนาอันเกี่ยวกับการใช้คาถา-อาคม พระคาถา)เกิดขึ้น อีกลัทธิหนึ่ง


ศาสนาพราหมณ์ในขณะนั้น มีความมั่นคงเลื่อมใสในลัทธิไสยศาสตร์มาก มีการใช้เวทมนตร์"คาถา"เป่าพ่นปลุกเสกและลงเลขยันต์ ประกอบ อาถรรพณ์ต่างๆแม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ใช่ว่าจะปฏิเสธเสียทีเดียว เพราะพระพุทธศาสนาเองก็ยังมีคุณอัศจรรย์ ที่จัดเป็น ปาฏิหาริย์ไว้ 2 อย่าง คือ

1. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนที่เป็นอัศจรรย์

2. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์ที่เป็นอัศจรรย์ถึงกับ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่อง พระโมคคัลลานะ เถระไว้เป็น ยอดของพระภิกษุที่ทรงอิทธิฤทธิ์ หากแต่ พระองค์ไม่ทรงยกย่อง อิทธิปาฏิหาริย์เท่ากับ อนุสาสนีปาฏิหาริย์

การใช้เวทมนตร์คาถานั้น ผลสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ดวงจิตสำรวมเป็นสมาธิ และสมาธินี้ท่านจัดบนฐาน แห่ง วิปัสสนาญาณถึงแม้หาก ว่าปุถุชนเราจะบรรลุได้อย่างสูงไม่เกินฌานสมาบัติก็ตามกระนั้นก็สามารถที่จะแสดง อิทธิฤทธิ์ ได้ตามภูมิของตน เช่น พระเทวทัตต์หนแรกที่เธอได้รูปฌาน เธอก็ยังสามารถบิดเบือน แปลงกายกระทำอวด ให้อชาตศัตรูกุมารหลงใหลเลื่อมใสได้

ส่วนอารมณ์ของรูปฌานนั้น ท่านใช้กสิณบ้างใช้คาถาบริกรรมบ้าง สุดแต่นิสัยของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ โดยเฉพาะ ที่ใช้คาถาบริกรรมนั้น ผู้บริกรรม จะรู้ถึงเนื้อความของคาถาที่บริกรรมนั้น หรือไม่ก็ตามนั่นมิใช่สิ่ง ที่เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะความมุ่งหมายต้องการแต่จะให้สมาธิเท่านั้น

เพื่อผลในทางอิทธิปาฏิหาริย์ที่ตนมุ่งหวังปรารถนา พระคาถาและการทำสมาธิแบบนี้ ได้เจริญ แพร่หลาย มากขึ้น ได้เกิดมีคณาจารย์มุ่งสั่งสอนเวทมนตร์กัน และได้ดัดแปลงแก้ไขวิธีการทางไสยศาสตร์ ของพราหมณ์มาใช้ โดยคัดตัดตอนเอาเนื้อมนต์ของพราหมณ์นั้นออกเสีย บรรจุพระพุทธมนต์ แทรกเข้าไปแทน เพราะมาคิดเห็นกันว่ามนต์พราหมณ์ยังเรืองอานุภาพถึงอย่างนี้ ถ้าหากว่า เป็นพุทธมนต์ คงจะยิ่งกว่าเป็นแน่
ฉะนั้นในการใช้เวทมนตร์คาถาที่พวกเราพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันทุกวันนี้ จึงล้วนแล้วแต่เป็นพระพุทธมนต์ที่ท่าน โบราณาจารย์ดัดแปลง แก้ไขเลียนแบบอย่างวิธีทางลัทธิไสยศาสตร์เดิมมาเท่านั้นหาใช่เป็นลัทธิไสยศาสตร์ ของพราหมณ์ดังที่บางท่านเข้าใจกันไม่

การรวบรวมคัมภีร์พระเวทพระคาถา อย่างจริงจังเกิดขึ้นในสมัย เจ้าพระคุณพระมงคลราชมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ แต่เมื่อครั้ง ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสัจจญาณมุนีอยู่นั้นพระคุณท่านเป็น ผู้สนใจในศาสตร์ ประเภทนี้อยู่มาก จึงได้พยายามรวบรวมขึ้นไว้จากสรรพตำราต่างๆ ส่วนมากเป็นของ สมเด็จ พระสังฆราช (แพ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาจารย์ของท่าน อันได้รับสืบต่อมาจาก สมเด็จพระวันรัต (แดง) ท่านได้ตั้ง ปณิธานที่จะให้วิชาเหล่านี้ได้เผยแพร่ต่อไปเพราะเกรงว่าจะสาบสูญเสียหมด

ในการรวบรวมคัมภีร์พระเวท พระคาถาต่างๆเหล่านี้ข้อความบางแห่งพอที่จะมี ต้นฉบับสอบทาน ก็ได้จัดการ สอบทานแก้ไข ให้ถูกต้อง ตามต้นฉบับเดิม ซึ่งได้คัดลอกสืบต่อกันมา แต่ก็ยังมีอักขระพระคาถา เนื้อมนต์นั้นบางทีก็มีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง สำหรับบทที่หาต้นฉบับ สอบทานไม่ได้ ก็คงไว้ ตามรูปเดิม ซึ่งถ้าหากได้ผ่านสายตาท่าน ผู้รู้ทั้งหลายก็ได้โปรดกรุณา แก้ไขต่อเติมเสีย ให้ครบถ้วน เพื่อจะได้เป็นตำราที่ถูกต้องบริบูรณ์ ดุจต้นฉบับ ของเดิมเพื่อเป็นการเทิดทูน วิทยาการอันประเสริฐ รวมทั้งได้ดำรงคงอยู่เป็นแนวศึกษาของชั้นหลังสืบต่อไป

ความหมายของคาถา และ เวทมนต์คาถา
ความหมายของคำว่า “คาถา” พระคาถา และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบันการใช้ "คาถา" ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต ในนี้จะมีบท คาถาต่างๆ ทั้ง คาถาชินบัญชร คาถาทางเมตตามหานิยม คาถาทางคงกระพันชาตรี คาถาแคล้วคลาด คาถาแผ่ส่วนกุศล คาถาแผ่เมตตา คาถากันของไม่ดี หัวใจพระคาถาต่างๆ คาถาบูชาเทพเจ้า คาถาบูชาพระพุทธรูปต่างๆ ซึ่งคาถาต่างๆเป็นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ สมัยก่อนคนจะใช้คาถาต่างๆได้สัมฤทธิผลกันมากเนื่องจากมีความเชื่อความศรัทธาและสัจจะเป็นสำคัญ ส่วนการท่องหรือตัวอักษรอักขระการออกเสียงต่างๆ อาจจะมีแตกต่างกันไปบ้าง ส่วนสำคัญอยู่ที่ความมั่นใจและตั้งมั่นมากกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆแค่ บทสวดมนต์ต่างๆ การออกเสียงในส่วนของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน ก็ต่างกันแล้ว แต่ทำไมถึงมีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันละ ก็เพราะความตั้งมั่น ไม่สงสัยในครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนมา

เวทมนต์คาถาใดๆ ก็ตามถ้าหากว่าเราจะต้องท่องให้จำได้ ก็จะต้องทำใจให้บริสุทธิ์ อาบน้ำชำระล้างสิ่งโสโครกให้สะอาดเสียก่อน แล้วก็นำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ แล้วก็ระลึกเป็นการขอพรบารมี ให้ท่องได้ง่ายจำได้แม่น แล้วก็กราบตำรานั้น 3 ครั้ง ต่อจากนั้นก็เปิดขึ้นมาท่องจำ หนังสือนั้นอย่าเหยียบอย่าข้าม อย่านั่งทับหรือนอนทับ ขณะท่องอย่านอนหลับให้หนังสือทับคาอก จะทำให้ปัญญาเสื่อม

เมื่อจะท่องหรือจะใช้พระคาถาใด ๆ ทุก ๆ พระคาถา จะต้องตั้ง นะโม 3 จบก่อน

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ความหมายของคำว่า คาถา
แต่คาถาและวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน ยังมีนัยอีกหลายประการนัยแรกตรงกับความหมายของพระเวท ใช้อ้อนวอนเซ่นสรวงบูชาและขอพรอำนาจแม้แต่การเชื่อว่าเป็นรหัสที่ได้รับจาก เทพเจ้าเป็นพิชอักขระมีความหมายในตัวเองต้องท่องบ่นให้ถูกต้องทุกคำ ห้ามแก้ไขการเรียนควรเรียนจากปากเพื่อรักษาสำเนียงโบราณไว้ ซึ่งทำให้คาถาเพี้ยนอยู่ทุกวันนี้นัยที่สองเป็นสิ่งลึกลับ มีอำนาจและมีตัวตน ใช้ได้เหมือนเครื่องมือสำเร็จรูปคาถาเมตตา คาถามหาเสน่ห์ บริกรรมภาวนาแล้วเมตตา คาถาทรหดบริกรรมภาวนาแล้วอยู่คงคาถาทั้งปวงมีอาถรรพณ์ เรียนแล้วไม่เจริญ มีพลังสร้างโทษแก่ผู้ใช้ได้สามารถสูบตัวตนของอาคมได้ คล้ายกับตำนานอสูรสูบพระเวทของพระพรหมตอนหลับแผลงฤทธิ์วุ่นวายจนพระนารายณ์ ต้องอวตารไปปราบ เกิดเป็นคำว่าอาคมเข้าตัว (เข้าหัวใจเข้าสมอง) เป็นที่เกรงกลัวกันมากสำหรับคนเรียนคาถายุคใหม่ สับสนกับคำว่าของถ้าเข้าตัวแล้วจะทำให้อายุสั้น บ้าใบ้วิกลจริต ตาบอดฉิบหายตายโหง คล้ายกับผิดครู ซึ่งโบราณนั้นต้องการให้อาคมเข้าตัวอย่างที่สุดก่อนทำการใดๆ ท่านให้เรียกอาคม เรียกอักขระเข้าตัวก่อนเรียนวิชาต้องเรียนจนกว่าอาคมเข้าหนัง เนื้อ และกระดูกไม่มีใครเลยที่กลัวอาคมเข้าตัว แต่กลัวผิดครูถ้าใช้คาถาแล้วฉิบหายตายโหงทันตาแสดงว่าผู้เรียนนั้นใช้คาถา ไปในทางเลวอย่างแน่นอนเพราะกรรมไม่ใช่เพราะตัวอาคม การเรียกอาคมเข้าตัวนี้สนับสนุนว่า อาคม หมายถึงวิชาความรู้ แต่การสูบอาคมหรือคัดทิ้งแท้จริงเป็นการสูบปราณหรือลดพลังปราณคุ้มครองตัว ของฝ่ายตรงข้ามการจะทำได้ต้องมีปราณที่แข็งแกร่งทัดเทียมกันเป็นอย่างน้อย (ให้ศึกษาบทความเรื่องจิตและกายทิพย์) การให้โทษต่อสุขภาพร่างกายของปราณอย่างที่เรียกว่าอาคมเข้าตัวนั้นเกิดจาก การที่ปราณแตกกระจายหรือถูกกระแทกโดยปราณของผู้อื่นอย่างรุนแรงการกระทำ ย่ำยี การคัดของก็ใช้หลักการเดียวกันนี้

แรกเริ่มของการเรียนไสยศาสตร์ทั่วไปจะได้รับคาถาไหว้ครูบทไม่ยาวนักเพื่อ ฝึกความจำ จากนั้นจะได้รับคาถายาวขึ้น จนกระทั่งถึงโองการและแม่บทคัมภีร์ต่างๆ เมื่อเข้าใจเรื่องการใช้ภูต ปราณ และจิต อย่างคล่องแคล่วแล้วคาถาไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่อาจจะมีความเคยชินว่าในการใช้พลังจิตต้องมีคาถาบูรพาจารย์มักยกคาถา สั้นๆมาใช้ ดังคำว่าสูงสุดคืนสู่สามัญจากกระบวนท่าเป็นไร้กระบวนท่า คาถาที่ได้รับตอนแรกเรียนเช่น พุทโธ นะมะพะทะนะโมพุทธายะ ฯลฯจึงเป็นคาถาที่บูรพาจารย์นำกลับมาใช้แสดงฤทธิ์จนเลื่องลือถึงทุกวันนี้ เคยพบหลายท่านที่คล่องแคล่วในการวางอารมณ์และถ่ายปราณไม่ได้ใช้คาถาใดในการ แสดงวิชาเลย

เมื่อเข้าใจว่าการใช้คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต ในตนสร้างความเชื่อมั่น และโน้มน้าวจิตตามวัตถุประสงค์ เราจะพบเห็นการแปลงคาถา เช่นสวาหะ แปลงเป็นสวาหาย สวาหับ สวาโหม ฯลฯ การนำคำพ้องเสียงมาใช้โดยไม่สนใจความหมายเช่น อุทธังอัทโธ แปลว่า เบื้องล่างเบื้องบน นำมาใช้ในวิชามหาอุด เป็นต้นดังนั้นหลักใหญ่ของการใช้คาถาคือความสม่ำเสมอของอารมณ์ในขณะนั้น( ไม่ใช่ความนิ่งไร้อารมณ์)ความเชื่อมั่นไร้ความลังเลสงสัยในกระแสทั้งสามและ อำนาจของกระแสจิตในตนคาถาทั้งปวงจะขลังหรือไม่ขึ้นอยู่กับอุปาทานข้อนี้ และ ๑.อำนาจสัจจะ๒.อำนาจคุณพระและ ๓.อำนาจเคราะห์กรรม (พึงศึกษาบทความเรื่องคุณพระต่อไป)การใช้คาถาทั้งปวงเมื่อเข้าถึงคุณพระได้ ย่อมเกิดอานุภาพความยาวและความยากของภาษาที่ใช้มีผลต่อการเข้าถึงคุณพระพอ สมควรดังนั้นควรเลือกบทที่ชอบ จิตเกาะได้ดี อารมณ์สม่ำเสมอ หรือเกิดปีติ